การเดินทางสู่อวกาศ

การเดินทางสู่อวกาศ

การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ บนโลกเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่สำหรับการเดินทางสู่อวกาศถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความคุ้นเคยของมนุษย์ ซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง ดังนี้

แรงโน้มถ่วงของโลก
แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงที่ดึงดูดต่อวัตถุทั้งหมดบนโลกไม่ให้หลุดลอยไปนอกโลก การส่งยานอวกาศปรือดาวเทียมจากโลกสู่อวกาศอันดับแรกจะต้องพยายามหนีจากแรงดึงดูดของโลกให้ได้ ซึ่งต้องอาศัยแรงดันอันมหาศาลและความเร็วสูงมาก ๆ จะเรียกความเร็วที่ทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่หลุดออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกว่า ความเร็วหลุดพ้น ซึ่งมีค่าประมาณ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที
แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นจากพื้นโลกต้องอาศัยแรงขับดันจากจรวดซึ่งเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ซึ่งกล่าวว่า "ทุกแรงกิริยาก็ยอมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันกระทำในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ"
วงโครจรของดาวเทียม
การทีดาวเทียมโครจรรอบโลกอยู่ได้นั้น เนื่องจากความเร็วของดาวเทียมที่โครจรรอบโลกจะสมดุลกันแงโน้มถ่วงของโลก ที่ระดับความสูงจากพื้นโลกเหนือนเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป 35,786 กิโลเมตร ดาวเทียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว3,070 เมตรต่อวินาทีหรือใช้เวลาโครจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ คือ 24 ชั่วโมง จึงทำให้เรามองเห็นดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งเดินตลอดเวลา เมื่อดาวเทียมลอยอยู่นิ่ง ๆ จึงเรียกดาวเทียมที่อยู่ในตำแหน่งนี้ว่า ดาวเทียมค้างฟ้า (geostationary orbit)